6 แนวทางนำเทคโนโลยีมารับมือน้ำท่วมภาคใต้ ที่ตอบโจทย์กับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาคงได้ยินประกาศจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนเฝ้าระวังและรับมือน้ำท่วมภาคใต้ของไทยจากร่องมรสุมที่จะพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม มักจะเห็นข่าวภาคใต้น้ำท่วมและฝนตกหนักมากกว่าปกติอยู่เสมอ ทำไมภาคใต้ถึงน้ำท่วมหนักช่วงปลายปี แล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการอุทกภัยแบบไหนถึงจะดี Bedrock Analytics มีไอเดียมาแนะนำครับ
ทำไมน้ำท่วมภาคใต้ของไทยปลายปี
อย่างแรกเลยต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุกันก่อนว่าทำไมน้ำท่วมภาคใต้ช่วงปลายปีบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากหลายปัจจัย
1. ปริมาณน้ำฝน
โดยปกติแล้วเมื่อฝนตกลงมาบนผิวดิน น้ำจะซึมลงบนดิน เมื่อฝนตกในปริมาณมากเกินที่ดินจะรับน้ำไหว ก็จะเกิดเป็นน้ำขังบนผิวดินแล้วไหลลงสู่ที่ลุ่มต่ำ อย่างลำคลอง ลำธาร แม่น้ำ และทะเล สำหรับภาคใต้นั้นมักเจอกับลมมรสุมตลอดปี ทั้งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงพฤษภาคม-กันยายน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกุมภาพันธ์-เมษายน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงตุลาคม-เดือนมกราคม ซึ่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้มักนำพาฝนตกหนัก-หนักมากจนทำให้เกิดน้ำไหลบ่าบนผิวดินและเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในท้องที่ต่าง ๆ
2. สภาพภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออก ลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลลงสู่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน ได้แก่ แม่น้ำชุมพร แม่น้ำสวี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำเทพา แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำโกลก แม่น้ำบางนรา แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำพังงา แม่น้ำตรัง และคลองละงู ซึ่งลักษณะภูมิประเทศลักษณะนี้ล้วนมีอิทธิพลโดยตรงต่อน้ำท่าของภาคใต้ ที่ส่งผลต่อน้ำท่วมภาคใต้
3. น้ำทะเลหนุน
ด้วยลักษณะของสภาพภูมิประเทศที่มีพื้นน้ำขนาบทั้งสองฝั่ง พื้นที่ราบลุ่มอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเลไม่ไกล ทำให้ต้องเจออิทธิพลของน้ำทะเลหนุนอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมากประกอบกับช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมภาคใต้ได้
4. การขยายตัวของเมืองและการบุกรุกพื้นที่ระบายน้ำ
เมื่อประชากรมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกก็มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ที่ส่งอิทธิพลสำคัญให้ป่าไม้ถูกทำลาย แม่น้ำลำคลองถูกบุกรุกทำให้ตื้นเขินกลายเป็นพื้นที่เกษตร มีการถมที่สร้างสิ่งปลูกสร้าง สร้างที่อยู่อาศัย และสร้างถนนกีดขวางทางระบายน้ำของเมือง จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ระบายน้ำ (แก้มลิง) น้ำล้นเข้าตัวเมือง และระบายน้ำไม่ทัน เพราะเจอสิ่งกีดขวาง
5. การบริหารจัดการในการกักเก็บน้ำ
การพยากรณ์อากาศและการคาดการณ์ปริมาณน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลในการบริหารจัดการในการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรไม่แม่นยำ หลายครั้งกักเก็บน้ำไว้ปริมาณมากเกิน เมื่อฝนตกหนักน้ำจึงล้น และเปิดปิดประตูระบายน้ำไม่ทันการณ์หรือขวางทางน้ำอยู่ทำให้น้ำไหลลงทะเลช้า
แนวทางในการบริหารสถานการณ์และใช้เทคโนโลยีในการรับมือน้ำท่วมภาคใต้
ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้น้ำท่วมภาคใต้เปลี่ยนไปจากอดีต ทั้งการขยายตัวของเมือง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ระบายน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบัน ทำให้ภัยพิบัติอย่างน้ำท่วมรุนแรงมากกว่าเมื่อก่อนหลายเท่าตัว ดังนั้นจึงควรมีการยกระดับในการบริหารจัดการภัยพิบัติด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนงาน ไม่ว่าจะเป็น
1. สร้างศูนย์บัญชาการด้านข้อมูลของท้องถิ่น
ปัญหาหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำท่วมภาคใต้ก็คือเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดการอัปเดต ขาดการเข้าถึง ขาดการนำมาใช้ประโยชน์ต่อ รวมถึงขาดการเชื่อมโยงข้อมูลภายในและภายนอก ดังนั้นจึงควรจัดทำศูนย์ข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลทันสมัย สามารถส่งต่อและเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายใน ภายนอก พร้อมแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ เข้าใจง่าย นำไปใช้งานต่อได้ทันที เพื่อให้ท้องถิ่นวางแผน รวมถึงสั่งปฏิบัติการได้อย่างตรงจุด มีความรวดเร็ว อย่างเช่น แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง หรือ City Digital Data Platform ศูนย์บัญชาการด้านข้อมูลของท้องถิ่น ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)และ Machine Learning ในการรวบรวม จัดเก็บ จัดการ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลท้องถิ่น แล้วสรุปผลแบบเรียลไทม์ทาง Dashboard ในรูปแบบแผนที่ 2 มิติ และ 3 มิติ ถึงพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลครัวเรือน และแนวทางการช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญ เป็นต้น
2. สร้างความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติตัว
การประกาศเตือนที่เข้าใจยากทำให้ประชาชนไม่เห็นถึงความสำคัญ หรือคิดว่าน้ำคงท่วมแบบปกติ จึงไม่ได้เตรียมพร้อมรับน้ำท่วมหรือฝนตกหนักมากพอ อีกทั้งยังไม่ทราบถึงแนวในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ จึงนำมาสู่ความสูญเสียมหาศาล ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชนจึงต้องความสร้างความเข้าใจ การรู้เท่าทัน และแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัวให้ประชาชนทราบ โดยอาจนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้ความรู้และเผยแพร่ข่าวสารที่รวดเร็ว เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย โดยรูปแบบของการสร้างความเข้าใจไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงหรือตัวอักษรเท่านั้น แต่อาจทำเป็นวิดีโอ ถ่ายทอดสดแนะนำ ภาพการ์ตูนที่เข้าใจง่าย เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้นช่องทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจและกระจายข่าวสารจะต้องครอบคลุมทั้งบอกต่อ เสียงตามสาย จัดอบรม ทำป้ายแนะนำ รวมถึงทางโซเชียลมีเดียด้วย อย่างเช่น ระบบ Citizen One Stop Service ระบบบริการประชาชนผ่าน LineOA และเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ภายในมีทั้งการแจ้งเหตุและร้องเรียน การขออนุญาตก่อสร้าง การชำระภาษีและค่าธรรมเนียม การจองคิว การติดตามสถานะ และการเผยแพร่ข่าวสาร ไม่เพียงประชาชนติดต่อ ติดตามท้องถิ่นสะดวก แต่ท้องถิ่นยังทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น เพราะระบบใช้เทคโนโลยีอันชาญฉลาดช่วยจัดระบบ ส่งต่องาน ตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลมาใช้งานต่อด้วย
3. จัดทำระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ
การขาดระบบเตือนภัยที่สามารถคาดการณ์แม่นยำและช่องทางที่ไม่หลากหลายทำให้การรับมือน้ำท่วมภาคใต้ไม่ดีอย่างที่คาดคิด ดังนั้น ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดทำระบบเตือนภัยที่สามารถส่งข้อมูลมาที่ศูนย์กลางและแจ้งเตือนเมื่อถึงจุดที่ท้องถิ่นตั้งไว้ โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องมอนิเตอร์ตลอดเวลา เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ IoTระดับน้ำ ใช้ภาพดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ ติดตั้ง CCTV ดูแลเมือง เป็นต้น
4. จัดทำระบบ Disaster Management
การใช้แผนรับมือน้ำท่วมภาคใต้แบบเดิม ในขณะที่ปัจจัยเปลี่ยน พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยน รวมถึงสภาพพื้นที่ก็เปลี่ยนไปทำให้ในปัจจุบันอาจไม่ได้ผลสัมฤทธิ์เท่าเดิม การนำระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ หรือ Disaster Management มาใช้จึงช่วยได้ เพราะเป็นระบบที่บูรณาการเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างครอบคลุมทุกกระบวนการทั้งก่อนเกิด ระหว่างเกิด และหลังเกิดน้ำท่วม โดยจะเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ แจ้งเตือน สรุปผล สนับสนุนการปฏิบัติการ รวมถึงคาดการณ์พื้นที่เสี่ยง และคาดการณ์ผลกระทบจากภัยพิบัติ
5. ประชุมและซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
การที่ไม่เตรียมแผนการรับมือ การไม่ซักซ้อมในการปฏิบัติการ รวมถึงการไม่ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานนำมาสู่ความล้มเหลวในการบริการจัดการอุทกภัยของท้องถิ่น ดังนั้นท้องถิ่นควรหมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ทบทวนแผนอยู่เป็นประจำ และฝึกอบรมบุคคลที่รับผิดชอบในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน เพื่อช่วยลดความเสียหายเมื่อเกิดน้ำท่วม
6. วางแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทั้งระยะสั้นและยาว
ความเสียหายจากภัยพิบัติส่งผลกระทบในวงกว้าง การวางแผนบูรณะฟื้นฟูเมืองจึงต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การป้องกันและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากน้ำท่วมจึงควรวางแผนรับมือน้ำท่วมให้ครบวงจร ทั้งก่อนเกิด ระหว่างเกิด และหลังเกิด ซึ่งไม่เพียงเรื่องเยียวยาจิตใจ ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น แต่ในส่วนของสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินของราชการก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาวางแผนด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในพื้นที่ สำหรับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยในกระบวนการนี้ก็อย่างเช่น แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง หรือ City Digital Data Platform ที่สามารถนำข้อมูลที่ระบบสรุปให้มาวางแผนเมืองได้ลึกและกว้าง มาประกอบกับการนำระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะ (Smart Asset Management) มาใช้ในการวางแผนก่อสร้าง บำรุงรักษา และซ่อมแซมบูรณะทรัพย์สินของท้องถิ่นให้สามารถรองรับน้ำท่วมภาคใต้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีขึ้นและปลอดภัยกว่าเดิม โดยระบบนี้จะนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Machine Learning และปัญญาประดิษฐ์ (Al) มาใช้ในการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล เช็กสถานะ ตรวจจับความผิดปกติของทรัพย์สิน รวมถึงระบุพิกัดและจำแนกทรัพย์สินได้อย่างแม่นยำ
โลกที่เปลี่ยนไปประกอบปัจจัยของน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน การบริหารจัดการภัยพิบัติในแต่ละพื้นที่จึงต้องใช้วิธีที่ไม่เหมือนกัน การนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำท่วมภาคใต้ช่วยให้แต่ละท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการได้อย่างตรงจุดและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพื้นที่ง่ายขึ้น หากสนใจโซลูชันและการบริการเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยจัดการภัยพิบัติในยุคดิจิทัล สามารถปรึกษาได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook