แนวทางพัฒนาท้องถิ่นสู่ Smart City ตามกลยุทธ์ภายใต้หมุดหมาย 8 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 13

การยกระดับท้องถิ่นสู่ Smart City ตามกลยุทธ์การพัฒนาภายใต้หมุดหมาย 8 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13 คืออะไร แล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทำอย่างไร Bedrock รวบรวมข้อมูลและแนวทางมาเล่าสู่กันฟังครับ
เป้าหมายสำคัญในการพัฒนา Smart City ภายใต้หมุดหมาย 8
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) มีการบรรจุเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในหมุดหมายที่ 8 “ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน” โดยมี 3 เป้าหมายสำคัญในการพัฒนา ได้แก่
- เป้าหมายที่ 1 เน้นการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจในภาคการลงทุนเติบโตมากขึ้น
- เป้าหมายที่ 2 เพื่อให้ความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้ลดลง
- เป้าหมายที่ 3 ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นสู่ Smart City ผ่านกลยุทธ์การพัฒนาภายใต้หมุดหมาย 8
คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า 4 กลยุทธ์การพัฒนาภายใต้หมุดหมาย 8 เพื่อนำไปสู่ 3 เป้าหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว ได้แก่อะไรบ้าง แต่หลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจยังคิดภาพไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดี ถึงจะพัฒนาตามกลยุทธ์เหล่านั้นจนเกิดเป็น Smart City ได้ เรามาดูความหมายและแนวทางการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันครับ
กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก
กลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมความเป็น Smart City ในด้าน Smart Economy และ Smart People เป็นการผลักดันให้เกิดความเป็นเมืองทุกพื้นที่ พร้อมสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถให้ชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ด้วยการพัฒนาภูมิภาคให้เป็นฐานเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมกลไกการตลาดท้องถิ่น และแก้ปัญหากลุ่มเปราะบางในเขตเมือง ตัวอย่างโครงการที่เห็นได้บ่อยก็อย่างเช่น
- การทำกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้คนในชุมชนนำเงินไปพัฒนาอาชีพ
- การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาอาชีพในชุมชน
- การหาเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสนับสนุนและยกระดับร้านค้าชุมชน
- การจัดทำพื้นที่ในการสร้างตลาดชุมชน เพื่อให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเขตพาณิชยกรรม
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมกลไกความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ประชาชน และประชาสังคม
กลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมความเป็น Smart City ในด้าน Smart Environment, Smart Governance, Smart Living และ Smart People เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน และประชาสังคม เพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมืองร่วมกันในด้านต่าง ๆ นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดี พึ่งพาตนเองได้ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้มากขึ้น ตัวอย่างโครงการที่ท้องถิ่นต่าง ๆ ได้จัดทำก็อย่างเช่น
- โครงการ “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ของชุมชุนวัดชากลูกหญ้าที่เข้าร่วมโครงการของบริษัทเอกชนในการจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร ตั้งแต่การรวบรวมและคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติก และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิ่ง (Upcycling)
- การจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ของเทศบาลตำบลบ้านกลาง จ. ลำพูน ที่ร่วมมือกันทั้งเทคโนโลยีจากเอกชน ข้อมูลของท้องถิ่น และประชาชนผู้ใช้บริการ
- โครงการ “Big Data เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ” ของเทศบาลนครยะลา ที่ร่วมมือกับเอกชนในการนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้ในการดูแลและบริหารจัดการท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโลจิสติกส์ และด้านดิจิทัล
กลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมความเป็น Smart City ในด้าน Smart Mobility, Smart Economy และ Smart People เป็นการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับพื้นที่เศรษฐกิจของเมืองให้อยู่ด้วยตนเองได้ สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง รวมไปถึงการช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศให้สูงขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น
- ศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนน รองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R12 เชื่อมต่อการขนส่งจาก จ.นครพนมของไทย ไปยังลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้
กลยุทธ์ที่ 4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการพื้นที่และเมือง
กลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมความเป็น Smart City ในทุกมิติ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการบริหารจัดการพื้นที่และเมืองและการเสริมสร้างสมรรถนะของท้องถิ่นให้มีศักยภาพแบบองค์รวม ตัวอย่างเช่น
- ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ที่เทศบาลตำบลป่าคลอก อ. ถลาง จ. ภูเก็ต ที่พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยี FLOWLOW มาใช้ในการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวและท่าเทียบเรือ
- แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) ที่เทศบาลเมืองแม่โจ้ นำมาใช้ในงานด้านสาธารณสุข
ปัจจุบันแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการพัฒนา Smart City เพื่อเป้าหมายของการสร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนกันแล้ว แต่อุปสรรคสำคัญที่พบก็คือขาดเครื่องมือที่จะพัฒนาไปสู่ Smart City ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Bedrock พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย Location Intelligence Platform และเทคโนโลยี AI เพื่อการยกระดับการดูแลและบริหารจัดการท้องถิ่นสู่ Smart City ติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ:
Facebook Page: เทศบาลนครยะลา Yalacity
Facebook Page: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม