Digital Economy เศรษฐกิจแบบใหม่ โอกาสทางรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
![](https://cdn.bedrockanalytics.ai/blog/57f19f8fa28e3f823f911213.webp)
Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัล คือรูปแบบเศรษฐกิจที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง การจำหน่าย การดำเนินธุรกิจ เช่น การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์, การชำระค่าสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต, การใช้โดรนขนส่งสินค้า
ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงถือเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนให้เกิด Digital Economy โดยเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อทุกภาคส่วน อีกทั้งยังต้องวางแผนทิศทางของท้องถิ่น บุคลากร และงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม, การพัฒนาทักษะให้กับคนในท้องถิ่น รวมถึงการโน้มน้าวให้เกิดการลงทุนในท้องถิ่นด้วย ซึ่งการพัฒนา Digital Economy ไม่เพียงส่งผลดีต่อรายรับที่เพิ่มขึ้นของประชาชน แต่ยังมีข้อดีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
1. สร้างงานให้คนในชุมชน
Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัล ช่วยสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะสายอาชีพด้านเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่คนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นจะได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยพัฒนาสินค้าและบริการตั้งแต่การวางแผน พัฒนา กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์ โดยไม่จำเป็นต้องย้ายไปทำงานต่างถิ่น
2. สร้างรายได้ให้ท้องถิ่น
เมื่อชุมชนมีบรรยากาศคึกคัก มีการลงทุนในสินค้าและการบริการที่หลากหลายและมีมูลค่าสูง พื้นที่ในชุมชนเต็มไปด้วยการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ก็ย่อมนำมาสู่รายได้ของท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, ภาษีป้าย, ค่าอากร, ค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาต, ค่าธรรมเนียมอื่น เป็นต้น อีกทั้งยังอาจได้รับเงินอุดหนุนจากแต่ละภาคส่วนอื่นเพิ่มเติม ทำให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นมีรายได้และงบประมาณนำไปพัฒนาเมืองได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์แบบตามที่หวังไว้
3. เกิดพื้นที่แห่งความเรียนรู้
Digital Economy คือสิ่งใหม่ที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นชิน การจะสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้และการพัฒนาด้าน Digital Economy องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะส่งบุคลากรในท้องถิ่นไปอบรม หรือจัดหาบุคลากรมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน เรื่องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เมื่อคนในท้องถิ่นมีทักษะและความรู้จนเชี่ยวชาญแล้ว ก็จะนำไปสู่ท้องถิ่นต้นแบบหรือศูนย์การเรียนรู้ต่อไปนั่นเอง
4. เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ
Digital Economy เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่จะลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่ามหาศาล หากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมมาใช้ เช่น การขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้สินค้าและบริการของเราออกสู่สายตาตลาดโลก, การประชุมการทำงานผ่าน Video Call เพื่อลดเวลาการเดินทาง รวมทั้งยังเปิดโอกาสการลงทุน และเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ในการพัฒนาหรือเพิ่มมูลค่าสินค้าจากคนนอกชุมชน เป็นต้น
5. สร้างโอกาสทางการลงทุน
ไม่เพียงแค่คนในชุมชนเท่านั้นที่จะพัฒนาสินค้าและบริการในรูปแบบ Digital Economy แต่ยังเป็นการเปิดรับโอกาสทางการลงทุนและเงินอุดหนุนทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ อาชีพใหม่ และรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชนด้วย
Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัล คือเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีโอกาสเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อนำรายได้มาพัฒนาท้องถิ่นให้ทันสมัยและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนดีขึ้นตามไปด้วย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ยังไม่รู้ว่าจะนำเทคโนโลยีแบบใดมาสนับสนุน Digital Economy ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและวางแผนแม่บทการพัฒนาด้านดิจิทัลให้กับเมือง ได้ที่ Line : https://lin.ee/tX4NVx0 หรือ Inbox: https://www.facebook.com/BedrockAnalyticsTH