เช็กความพร้อมยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ Smart City
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของคุณพร้อมแค่ไหนที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) หากยังไม่แน่ใจ Bedrock นำตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะตามมิติทั้ง 7 ด้านจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มาให้เช็กกันว่าเมืองของคุณได้ทำสิ่งแล้วนี้ไปแล้วหรือไม่และอย่างไร
เมืองอัจฉริยะคืออะไร
“เมืองอัจฉริยะ (Smart City)” ตามที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้กำหนดไว้ว่า “เมืองอัจฉริยะหรือ Smart City” คือเมืองที่ประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการเมืองการให้บริการแก่ประชาชนลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้ทรัพยากรรวมถึงต้องมีการออกแบบที่ดีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่ทันสมัยเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตและความสุขให้กับประชาชนประกอบไปด้วยตัวชี้วัดที่สำคัญ 7 มิติด้วยกันคือสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment), เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy), พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy), การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility), การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living), พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People), การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
ดังนั้นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะจะต้องผ่านตัวชี้วัดทั้ง 7 ด้านแต่แบบไหนกันถึงเรียกว่าผ่านในแต่ละด้านมาเช็กลิสต์เป็นข้อๆไปพร้อมกันได้เลย
1. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำอากาศขยะและพื้นที่สีเขียวเป็นไปตามค่ามาตรฐานหรือไม่
ตัวชี้วัดในด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ก็คือเมืองที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นจะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการเช่นระบบน้ำการจัดการของเสียระบบดูแลสภาพอากาศการเฝ้าระวังภัยพิบัติรวมถึงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรซึ่งในข้อนี้มักจะดูว่ามีการเพิ่มคุณภาพการจัดการน้ำอากาศขยะพื้นที่สีเขียวให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานหรือไม่และมีค่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการให้บริการของสถานบริการสาธารณสุข (co2 emission) ที่ลดลงหรือเปล่า
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ก็อย่างเช่นการนำ City Digital Data Platform มาใช้ในการคาดการณ์และพิกัดที่จะเกิดภัยพิบัติหรือการใช้ Senscity เครื่องมือช่วยตรวจสอบผลกระทบสภาพภูมิอากาศในเมือง
2. นำเทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนอย่างไรบ้าง
ตัวชี้วัดในด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) หมายถึงเมืองที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะดูจากการรายได้ต่อปีของประชากรว่าเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
ตัวอย่างในการนำเทคโนโลยีมาใช้ก็อย่างเช่นการใช้แพลตฟอร์ม ‘FAHFON’ เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่จะช่วยพยากรณ์อากาศช่วยยกระดับเกษตรกรในการวางแผนเพาะปลูกเป็นต้น
3. มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานหรือไม่
ตัวชี้วัดในด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ก็คือเมืองที่บริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลักซึ่งจะวัดจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทดแทนตามที่กำหนด
ตัวอย่างการยกระดับ Smart City ในด้านพลังงานอัจฉริยะที่มีการนำมาใช้อย่างเช่น Smart Grid เป็นระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรช่วยบริหารจัดการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้พอเพียงตรงตามความต้องการหรือการนำพลังงานทางเลือกสะอาดมาใช้อย่างพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลมพลังงานน้ำเป็นต้น
ตัวชี้วัดในด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) ก็คือเมืองที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบบริการภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมซึ่งจะวัดจากสัดส่วนของประชาชนในการเข้าถึงบริการผ่านช่องทางดิจิทัลและการส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการสาธารณะ ตัวอย่างที่มีการยกระดับการบริหารภาครัฐสู่ Smart City เช่นการร้องเรียนปัญหาผ่านทาง Line Official Account, บริการประชาชนแบบ One Stop Service, ติดตั้งจอแอลอีดีกลางแจ้งเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ตัวชี้วัดในด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) หมายถึงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยสิ่งที่จะใช้วัดก็คือค่าดัชนีสุขภาวะจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ตัวอย่างในการพัฒนาการดำรงชีวิตอัจฉริยะสู่ Smart City ก็อย่างเช่นการออกแบบอาคารที่มีระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติ, การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV), การนำ City Digital Data Platform มาใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วยและช่วยเหลือฉุกเฉิน, การใช้ QueQ Application ในการจองคิวของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตัวชี้วัดในด้านการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) คือเมืองที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบจราจรและขนส่งเพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่งโดยจะใช้เกณฑ์ในการวัดคือความพึงพอใจต่อขนส่งสาธารณะหรือระบบขนส่งจราจรและอัตราผู้เสียชีวิตจากการเดินบนถนนตามเกณฑ์ที่กำหนด ตัวชี้วัดในด้านพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) ก็คือมีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาองค์ความรู้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจโดยเกณฑ์ที่จะใช้วัดก็คือสัดส่วนจำนวนประชาชนที่มีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ตัวอย่างที่มีการยกระดับ Smart City ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านนี้เช่นสนับสนุนและส่งเสริมให้ฟัง Online Streaming, YouTube หรือ Podcasts เป็นต้น 7 คำถามที่เล่ามาเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการเช็กความพร้อมเพื่อยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่เมืองอัจฉริยะหรือ Smart City ตามที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้ตั้งตัวชี้วัดไว้เพื่อให้สอดคล้องตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเท่านั้นหากด้านใดที่ยังขาดอยู่และไม่รู้ว่าจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างไรปรึกษาฟรีได้ที่ Line : https://lin.ee/tX4NVx0 หรือ Inbox: https://www.facebook.com/BedrockAnalyticsTH ขอบคุณข้อมูล: https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office4. มีการยกระดับการบริการภาครัฐอย่างไรบ้าง
5. มีแนวทางในการสร้างระบบสาธารณสุขและสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนแบบใดบ้าง6. มีการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดการระบบจราจรและขนส่งอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างที่มีการยกระดับ Smart City ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบจราจรและขนส่งก็อย่างเช่นการนำ City Digital Data Platform มาใช้ในการดูสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์, การจ่ายค่าบริการรถสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันหรือระบบออนไลน์เป็นต้น
7. ได้ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พัฒนาทักษะความรู้หรือไม่