สร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน กับ 9 แนวทางออกแบบทางเท้าที่ดีเพื่อทุกคน (Universal Design)

เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ควรจะเป็นเมืองที่ออกแบบเพื่อทุกคน ทางเท้าที่ดี ก็ควรเป็นทางเท้าที่ออกแบบเพื่อทุกคนเช่นกัน ทางเท้าที่ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานของทุกคน จะทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายและเป็นอันตราย ไม่เพียงเท่านั้นหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกแบบทางเท้าที่ดึงดูดให้คนมาใช้งาน ยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น นำรายได้กลับมาสู่ชุมชนอีกด้วย วันนี้ Bedrock จึงนำข้อมูลการออกแบบทางเท้าที่ดี มาฝากกันครับ
1. ขนาดทางเดินที่เหมาะสม
กระทรวงคมนาคมกำหนดไว้ว่าทางเท้าที่ออกแบบมาเพื่อทุกคนจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อให้ผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์และไม้เท้าสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก สอดคล้องกับ thecity fix ที่แนะนำว่าทางเท้าควรจะแบ่งออกได้เป็น 3 โซน ได้แก่ “free zone” พื้นที่ให้คนเดิน, “Service Zone” พื้นที่ไว้ตั้งที่นั่ง ถังขยะ และ “Transition Zone” พื้นที่สำหรับให้คนเดินเข้าไปยังตัวอาคารได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการกำหนดขนาดทางเท้าที่เหมาะสมเพื่อสร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน จะต้องคำนึงถึงการใช้งานที่จะเกิดขึ้นจริง ทั้งคนที่จะต้องเดินเข้าอาคารบ้านเรือน การใช้งานของคนกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงการวางถังขยะ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดบนทางเท้าด้วย
2. พื้นผิวทางเท้ามีคุณภาพ
กระทรวงคมนาคม แนะนำไว้ว่าวัสดุที่ใช้ทำทางเท้าควรจะมาจากแอสฟัลต์คอนกรีต แต่หากเป็นบล็อกหรือพื้นผิววัสดุอื่นจะต้องวางให้ชิดกัน โดยมีระยะความต่างระดับได้ไม่เกินกว่า 6 มิลลิเมตร ที่สำคัญทางเท้าจะต้องเรียบ มีความแข็งแรง บดอัดแน่น ไม่ลื่น ไม่ขรุขระ ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือส่วนที่ยื่นล้ำออกมาเป็นอุปสรรคหรืออันตรายต่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับ thecity fix ที่บอกว่าวัสดุที่ใช้ทำทางเท้าจะต้องเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ แข็งแรงคงทน ไม่ลื่น ไม่ชำรุดง่าย
3. ระบายน้ำฝนได้มีประสิทธิภาพ
เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนที่ออกแบบทางเท้าได้ดี จะต้องทำให้ทางเท้าไม่มีน้ำขัง เพราะเสี่ยงต่ออันตรายและเชื้อโรค โดยกระทรวงคมนาคม ได้แนะนำไว้ว่าบ่อพักของท่อระบายน้ำจะต้องมีฝาปิดสนิท หรือหากมีฝาปิดเป็นตะแกรงจะต้องมีซี่หรือรูเล็กขนาดกว้างไม่ เกิน 13 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้เท้า ไม้ค้ายัน อุปกรณ์ช่วยเดิน หรือล้อวีลแชร์ตกลงไปได้
4. ออกแบบเพื่อทุกคน
การออกแบบทางเท้าที่ดี เพื่อสร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน จะต้องออกแบบมาให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ดังนั้นการออกแบบทางเท้า ไม่เพียงคำนึงถึงบุคคลทั่วไปเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงเด็ก คนตั้งครรภ์ ผู้ใช้ไม้ค้ำยัน ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้พิการด้วย อย่างเช่นที่กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดไว้ว่าทางเท้าที่ออกแบบมาเพื่อทุกคนจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อให้ผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์และไม้เท้าสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก
5. เชื่อมต่อทางเท้าได้สะดวก
เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ไม่เพียงออกแบบทางเท้าให้เดินสะดวกและปลอดภัยเท่านั้น แต่จะต้องทำทางเชื่อมต่อทางเท้า ไม่ว่าจะเป็นทางร่วม ทางแยก ทางข้ามถนน ทางเชื่อมไปยังสถานีหรือสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยและออกแบบให้ทุกคนสามารถใช้งานได้สะดวกด้วย โดยกระทรางคมนาคมแนะนำไว้ว่าจะต้องจัดให้มีทางลาดจากทางเท้าลงสู่ถนน ทางข้ามถนน อาคารที่เชื่อมหรือส่วนที่มีความต่างระดับกัน โดยพ้ืนผิวต่อเนื่องระหว่างพ้ืนถนนกับทางลาดต้องเรียบและไม่ขรุขระ มีสัดส่วนความลาดชันไม่เกิน 1 : 12 เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและสะดวกต่อการใช้งานของผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ด้วย
6. ดึงดูดให้คนมาใช้งาน
ทางเท้าคือส่วนหนึ่งที่เสริมความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสวยงาม และสะท้อนอัตลักษณ์ให้กับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากออกแบบทางเท้าได้น่าเดิน ก็จะสามารถพัฒนาเส้นทางตลอดทางเท้าให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และพื้นที่เศรษฐกิจได้ด้วย ส่งผลให้ท้องถิ่นมีรายได้ ประชาชนมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปด้วย
7. มีความปลอดภัยอยู่เสมอ
ทางเท้าที่ดีจะต้องมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา กระทรวงคมนาคมแนะนำไว้ว่า สิ่งกีดขวางจำเป็น เช่น ลวดขึง เสาไฟฟ้า ป้ายบอกทาง ตู้ไปรษณีย์ ต้นไม้ เป็นต้น ที่จำเป็นต้องยื่นเข้ามาในทางเท้าจะต้องจัดให้อยู่ในแนวเดียวกันและมีผิวต่างสัมผัสก่อนถึงสิ่งกีดขวาง ในส่วนสิ่งกีดขวางอื่นอย่างอุปกรณ์บังแดดหรือฝนของอาคารริมทางเท้า กำหนดไว้ว่าในขณะที่ใช้งานอยู่จะต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร และยื่นออกมาได้ไม่เกิน 10 เซนติเมตร และต้องติดตั้งให้สูงไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตร ในส่วนบริเวณจุดรับและส่ง บริเวณอันตราย บริเวณที่มีการหักมุม บริเวณที่มีทางแยก หรือบริเวณทางต่างระดับ จะต้องมีพื้นผิวต่างสัมผัสแจ้งให้ทราบด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานทุกคน
8. มีป้ายบอกทางชัดเจน
เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ไม่ใช่น่าอยู่เพียงแค่ผู้ที่ใช้ชีวิตประจำวันหรือตั้งรกรากอาศัยอยู่ในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่ไม่ว่าใครสัญจรผ่านมาก็สัมผัสได้ถึงความน่าอยู่ ทางเท้าจึงเป็นหน้าเป็นตาให้กับผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเพื่อการใช้ทางเท้าที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานทุกคน จะต้องติดตั้งป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายระบุตำแหน่งที่ตั้งและระยะทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษาสามารถเข้าใจได้ทันทีด้วย
9. บำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ทางเท้าที่ดีจะต้องพร้อมใช้งานและมีสภาพดีอยู่เสมอ แต่ด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภารกิจและหน้าที่ที่กว้างขวางและหลากหลาย ทำให้บางครั้งการตรวจตราทางเท้าทุกจุดตลอดเวลาจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้จึงเป็นทางออกที่น่าสนใจ อย่างเช่น ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะ จาก Bedrock มาช่วยในการมอนิเตอร์ ดูแล และวางแผนวงรอบการซ่อมบำรุง จึงช่วยให้ท้องถิ่นสามารถเพื่อดูแลทางเท้าให้ปลอดภัย สวยงาม และพร้อมใช้งานอยู่เสมอได้อย่างครบวงจร
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนใจระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะ จาก Bedrock เพื่อยกระดับเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยทางเท้าและถนนที่สวยงาม ปลอดภัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook
ขอบคุณข้อมูล:
- https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER41/DRAWER001/GENERAL/DATA0000/00000290.PDF