ส่องโซนพาณิชยกรรมเทศบาลนครยะลา เช็กก่อนขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
หากให้พูดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในไทยที่มีจุดเด่นเรื่องผังเมือง จะไม่พูดถึงเทศบาลนครยะลาก็คงไม่ได้ เพราะเทศบาลนครยะลามีการวางผังเมืองก่อนสร้างเมือง อีกทั้งยังได้รับรางวัล UNESCO Cities มาแล้ว เรามาดูกันครับว่าผังเมืองของเทศบาลนครยะลาเป็นอย่างไร โซนฮอตอย่างพื้นที่พาณิชยกรรมอยู่ตรงไหน จะสามารถขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อที่อยู่อาศัยได้หรือไม่
ผังเมืองเทศบาลนครยะลา
เขตเทศบาลนครยะลามีขนาดพื้นที่ 19 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่ได้ชื่อว่ามีวางผังเมืองที่ดีและสวยงามแห่งหนึ่งของไทย เนื่องจากมีการวางผังเมืองก่อนที่จะเริ่มสร้างเมือง โดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) นายกเทศมนตรีเมืองยะลาในขณะนั้น (พ.ศ.2480-2488) ที่ได้ใช้ก้อนหินปักหลักศูนย์กลางของเมือง แล้ววางวงเวียนซ้อนกัน 3 วงคล้ายกับกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยวงในสุดจะเป็นสถานที่ราชการ วงเวียนที่สองเป็นบ้านพักข้าราชการ วงเวียนที่สามและวงเวียนสุดท้ายเป็นที่ตั้งของโรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยของประชาชน นั่นคือจุดเริ่มต้นของการวางผังเมืองเทศบาลนครยะลานั่นเอง
จากจุดเริ่มต้นในวันนั้นเทศบาลนครยะลาได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเทศบาลนครยะลามีถนนที่ตัดและเชื่อมต่อกันเป็นใยแมงมุมมากถึง 411 สาย (สำรวจข้อมูล ณ วันที่ 27 เดือนมกราคม 2566) และถนนทุกสายจะไปรวมกันที่วงเวียนหลักของเมือง ที่สำคัญผังเมืองของเทศบาลนครยะลายังแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นโซนอย่างชัดเจน เพื่อความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการพัฒนาและการบริหารจัดการเมือง ได้แก่ ย่านสถานศึกษา ย่านสถานที่ราชการ ย่านธุรกิจการค้า โซนบ้านพักอาศัย และสวนสาธารณะหรือพื้นที่สีเขียวของเมือง นอกจากนี้ผังเมืองอีกส่วนหนึ่งยังตัดกันเป็นตารางหมากรุก คล้ายกับนครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีทางเท้าควบคู่รางระบายน้ำ เพื่อช่วยให้แนวของอาคารเป็นแนวเดียวกันด้วย
ทราบภาพรวมและแนวคิดของการสร้างผังเมืองเทศบาลนครยะลากันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูสีผังเมืองของเทศบาลนครยะลากันว่าพื้นที่ไหนกำหนดสีหรือการใช้ประโยชน์ของที่ดินไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่าสีผังเมืองเทศบาลนครยะลาในปัจจุบันจะประกอบไปด้วย
- เขตสีแดง: ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นกลุ่มใกล้กับวงเวียนชั้นที่สี่ ในย่านสายกลาง และพื้นที่รอบ ๆ สวนขวัญเมือง
- เขตสีส้ม: ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วเมือง
- เขตสีเหลือง: ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย จะอยู่บริเวณชานเมืองและติดพื้นที่เขตเทศบาลอื่น
- เขตสีน้ำเงิน: ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใจกลางเมืองหรือในเขตวงเวียนชั้นใน
- เขตสีม่วง: ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า พบได้น้อยมากในเขตเทศบาลนครยะลา โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ใกล้บริเวณสะเตงและสะเตงนอก
- เขตสีเขียว: ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งจะอยู่รอบนอกของเทศบาลนครยะลา
- เขตสีเขียวมะกอก: ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา ซึ่งจะอยู่ใกล้กับวงเวียนทั้ง 3 ของเทศบาลนครยะลา
- เขตสีเขียวอ่อน: ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการกระจายอยู่ทั่วเมือง
- เขตสีเทาอ่อน: ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา ซึ่งจะตั้งกระจายตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย
พื้นที่พาณิชยกรรมเทศบาลนครยะลา
จากผังเมืองคงจะเห็นกันแล้วว่าส่วนใหญ่พื้นที่พาณิชยกรรมของเทศบาลนครยะลา อยู่ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนตามถนนสายหลักและสายสำคัญของเทศบาลนครยะลา ได้แก่ ถนนสิโรรส ถนนพิพิธภักดี ถนนสุขยางค์ ซึ่งชาวยะลาจะเรียกพื้นที่นี้ว่าย่านสายกลาง นอกจากนี้พื้นที่พาณิชยกรรมของเทศบาลนครยะลายังอยู่รอบสวนขวัญเมืองด้วย
สำหรับย่านสายกลางของเทศบาลนครยะลา คือชุมชนตลาดดั้งเดิมของเมืองยะลาอยู่ใกล้กับทางรถไฟ ใกล้กับแม่น้ำปัตตานีทางทิศตะวันออก เป็นชุมชนเมืองที่มีการค้าขาย ตลาด และการประกอบธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บริเวณตลาดรัฐกิจ ร้านขายทองและเครื่องประดับ ร้านขายผ้าพื้นเมือง (ผ้าปาเต๊ะ และผ้าโสล่ง) ร้านขายเครื่องสำอาง จุดรับซื้อขายยางพารา ร้านขายของชำ เป็นต้น ซึ่งมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ สำหรับลักษณะตึกรามบ้านช่องในย่านนี้จะมีลักษณะเป็นบ้านไม้ห้องแถวผสมไปกับอาคารตึกแถวคอนกรีตตามสมัยนิยม
พื้นที่พาณิชยกรรมของเทศบาลนครยะลาขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้หรือไม่
หลายคนอาจสงสัยแล้วพื้นที่พาณิชยกรรมของเทศบาลนครยะลา พื้นที่สุดฮอตที่สะดวกสบายในการเดินทาง การประกอบอาชีพ และการอยู่อาศัยมีข้อจำกัดอะไรบ้าง หากจะขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยโดยไม่ประกอบธุรกิจจะได้หรือไม่
คำตอบก็คือพื้นที่พาณิชยกรรมของเทศบาลนครยะลานั้นสามารถขออนุญาตก่อสร้างอาคารได้หลากหลายแบบ โดยเขตพื้นที่สีแดง จัดเป็นเขตที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก สามารถใช้ทำประโยชน์เพื่อการพาณิชยกรรม การเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า บริการ นันทนาการ และการท่องเที่ยว อีกทั้งยังสามารถสร้างที่อยู่อาศัยและสถานที่ราชการได้ ซึ่งหากจะขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่นอกเหนือไปจากประโยชน์ที่บอกมานั้นก็สามารถทำได้ แต่จะต้องไม่เกิน 25% ของพื้นที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นพื้นที่นี้ห้ามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เช่น โรงงาน (มีข้อยกเว้นตามกฎหมาย) สถานบรรจุเชื้อเพลิง สุสาน การเลี้ยงและทำปศุสัตว์ คลังสินค้า สถานีขนส่ง และสถานกำจัดขยะ เป็นต้น
ส่วนหนึ่งในการพิจารณาผลการขออนุญาตก่อสร้างอาคารจะต้องมีการเทียบสีผังเมือง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นหน้าที่ของเทศบาล ทำให้เทศบาลต้องใช้เวลานานในการพิจารณาผลการขออนุญาตก่อสร้าง แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอัจฉริยะมาช่วยในการเทียบสีผังเมืองให้แบบอัตโนมัติ นั่นก็คือ ระบบขออนุญาตและควบคุมอาคารอัจฉริยะ
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดนำมาใช้ ประชาชนจะสามารถตรวจสอบสีผังเมืองด้วยต้นเองง่าย ๆ เพียงแค่ระบบสถานที่และสิ่งที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคารเท่านั้น อีกทั้งยังตรวจสอบและติดตามผลการพิจารณาการขออนุญาตก่อสร้างอาคารแบบอัตโนมัติได้ด้วย หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ:
https://yala.prd.go.th/th/content/category/detail/id/60/iid/234
https://www.facebook.com/187586874658065/photos/a.187597901323629/1310109132405828/