ใช้ Big Data ก้าวสู่ Smart City อย่างมีประสิทธิภาพ ต้อง Start ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง

ใคร ๆ ก็บอกว่าให้ใช้ Big Data ยกระดับการดูแลและบริหารจัดการท้องถิ่น เพื่อก้าวสู่ Smart City แต่ปัญหาก็คือมีข้อมูลจำนวนมาก แต่ขาดการเชื่อมโยง ข้อมูลจัดเก็บแบบกระจัดกระจายหลายรูปแบบ ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน ต้องใช้เครื่องมืออะไร รวมถึงขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่จะรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่พร้อมจะเข้ามาแก้ปัญหาให้คุณแล้ว
เครื่องมือที่หมายถึงก็คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) แพลตฟอร์มข้อมูลแบบรวมศูนย์ ที่มีความสามารถในแก้ปัญหาเรื่อง Big Data ที่คุณกังวล พร้อมช่วยวิเคราะห์ คาดการณ์ และแสดงผลที่เข้าใจง่าย แบบที่เห็นปุ๊บก็นำไปใช้งานต่อทันที
แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) ที่ Bedrock พัฒนาขึ้น เป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะแบบบูรณาการทั้งปัญญาประดิษฐ์, Machine learning และเทคโนโลยีอื่นในการรวบรวม จัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ เชื่อมโยง และแสดงผลข้อมูลแบบรวมศูนย์ของท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่ง Bedrock นำ Big Data ที่ได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Bedrock, หน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาจัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองมากกว่า 500 ประเภท แบ่งออกเป็น 8 ชั้นหมวดข้อมูลสำคัญ ดังนี้
1. ชั้นข้อมูลแปลงที่ดิน
ชั้นข้อมูลแปลงที่ดิน เป็นข้อมูลรายละเอียดแปลงที่ดินในพื้นที่ที่กำหนด โดยนำข้อมูลของกรมที่ดินและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเลขที่โฉนด ขนาดเนื้อที่ ชื่อเจ้าของ ตำแหน่ง เป็นต้น โดยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบคำขออนุญาต และตรวจสอบในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องได้
2. ชั้นข้อมูลขอบเขตอาคาร
ชั้นข้อมูลขอบเขตอาคาร เป็นข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตของอาคารทั้งแบบ รูปทรง ความสูง และเนื้อที่ ซึ่งสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการตรวจสอบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารหรือเปลี่ยนแปลงอาคาร รวมถึงการใช้ประโยชน์ของที่ดินได้ด้วย
3. ชั้นข้อมูลพื้นที่ห้ามก่อสร้าง
แนวเวนคืนที่ดิน ชั้นข้อมูลพื้นที่ห้ามก่อสร้าง แนวเวนคืนที่ดิน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับรายละเอียดแนวเวนคืนที่ดิน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และโครงการต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดการเวนคืนที่ดิน โดยรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เพื่อให้มีความครอบคลุมและครบถ้วน ทั้งจากเทศบัญญัติ, กฎกระทรวง และข้อมูลที่ Bedrock จัดทำข้อมูลเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้าง ตรวจสอบคำอนุญาตก่อสร้าง รวมถึงนำไปวางแผนนโยบายและโครงการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการท้องถิ่น
4. ชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นข้อมูลรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ของท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลจากกฎกระทรวงและจากการสำรวจของ Bedrock เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน ทั้งการตรวจสอบข้อกำหนดอาคาร การขออนุญาตก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงอาคาร และการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย
5. ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน
ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน เป็นข้อมูลแผนที่ที่ใช้ในการแสดงขอบเขตบริเวณของพื้นที่ เส้นทางการคมนาคม ระยะร่นจากถนน โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคของท้องถิ่น โดยการใช้เทคโนโลยีของ Bedrock ในการจัดทำข้อมูลที่มีความละเอียด ถูกต้อง และอัปเดตล่าสุด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียกดูข้อมูล ค้นหาข้อมูล ตรวจสอบระยะร่นจากถนน ตรวจสอบเส้นคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคของท้องถิ่น ซึ่งนำไปสู่การจัดเก็บภาษีท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ การยกระดับการบริหารจัดการท้องถิ่น รวมถึงการจัดสรรและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
6. ชั้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
ชั้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม เป็นข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม ที่ใช้เทคโนโลยีของ Bedrock ในการจัดทำข้อมูล ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลตำแหน่งและภาพที่มีความละเอียดสูง เพื่อให้สามารถตรวจสอบความสูง ขนาดเนื้อที่ สภาพของวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ อัปเดตเป็นปัจจุบัน และในบางกรณีสามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าได้ด้วย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบอาคารที่อาจก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ รวมถึงการยกระดับการบริหารจัดการท้องถิ่น การจัดเก็บภาษีท้องถิ่น การจัดสรรและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของท้องถิ่นให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน
7. ชั้นข้อมูลภาพถ่ายสามมิติ
ชั้นข้อมูลภาพถ่ายสามมิติ เป็นข้อมูลภาพถ่ายสามมิติ ที่ใช้เทคโนโลยีของ Bedrock ในการจัดทำข้อมูล ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลลักษณะทางกายภาพที่เสมือนจริง มีความละเอียดสูง สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบข้อกำหนดอาคารจากลักษณะทางกายภาพ การตรวจสอบอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้ขออนุญาต นำไปใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น การจัดเก็บภาษีท้องถิ่น การจัดสรรและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของท้องถิ่น รวมทั้งนำไปใช้ในการคาดการณ์ และวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้แม่นยำ
8. ชั้นข้อมูลเมืองดิจิทัล
ชั้นข้อมูลเมืองดิจิทัล เป็นข้อมูลเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ ที่รวบรวมข้อมูลแบบบูรณาการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและที่ Bedrock จัดทำขึ้น เช่น ข้อมูลร้านค้า ข้อมูลประชากร ข้อมูลทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ข้อมูลกำลังซื้อ ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการดูแลและบริหารจัดการท้องถิ่น การยกระดับการบริการ การวางแผนและกำหนดนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
8 หมวดข้อมูลสำคัญเหล่านี้ คือ Big Data ที่ Bedrock ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยแบบบูรณาการในการจัดการเชื่อมโยง วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผล พร้อมแสดงผลข้อมูลให้เข้าใจง่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการท้องถิ่น ยกระดับการบริการภาครัฐ รวมถึงสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น เพื่อก้าวสู่ Smart City ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจสามารถติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ:
https://yala.prd.go.th/th/content/category/detail/id/60/iid/234
https://www.facebook.com/187586874658065/photos/a.187597901323629/1310109132405828/