สัมภาษณ์พิเศษ “คุณขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย นายกเทศมนตรีตำบลลำพญา” ใช้ระบบจัดการภัยพิบัติ จาก Bedrock แก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่แบบเชิงรุกด้วยข้อมูลเมือง
หลายคนอาจคิดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ริมแม่น้ำลำคลอง คงเป็นพื้นที่แห่งการท่องเที่ยวและการพาณิชยกรรมที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู ผู้คนในเมืองมีความมั่นคงทางรายได้และอาชีพ แต่รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันพื้นในลักษณะนี้มีความท้าทายสำคัญรออยู่ นั่นก็คือ ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง จนเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วมมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงคร่าชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่ยังส่งผลต่อการบริหารจัดการเมืองทั้งในเรื่องการวางแผนรับมือ การใช้งบประมาณ รวมถึงยังกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้าและการลงทุนในพื้นที่ด้วย เทศบาลตำบลลำพญาจึงค้นหาวิธีในการต่อสู้กับความท้าทายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาจัดการ
วันนี้ Bedrock ชวนมาร่วมพูดคุยกับ “คุณขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย นายกเทศมนตรีตำบลลำพญา จังหวัดนครปฐม” ถึงความท้าทายและอุปสรรคในเรื่องของพื้นที่ในเขตเทศบาลที่อยู่ติดแม่น้ำ มีแม่น้ำคั่นกลางเมือง จึงเกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง พร้อมแบ่งปันแนวคิดและวิธีการในการแก้ปัญหาแบบเชิงรุกที่ไม่โทษฝนฟ้าหรือรอคอยแก้ไขหลังเกิดน้ำท่วมเพียงอย่างเดียวมาแนะนำ
1. ความท้าทายเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่และปัญหาอุทกภัยของเทศบาลตำบลลำพญา
เขตเทศบาลตำบลลำพญาของเรามีผังเมืองเป็นสีชมพู มีจุดเด่นที่เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวและพาณิชยกรรมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดและภูมิภาค เนื่องมาจากมีลักษณะพื้นที่ติดแม่น้ำประมาณ 4 กิโลเมตร อีกทั้งในบางพื้นที่ยังมีแม่น้ำผ่ากลางเมือง ทำให้มีทัศนียภาพสวยงาม เหมาะกับการทำการค้าและการลงทุนในด้านการท่องเที่ยว แต่ความได้เปรียบเชิงพื้นที่เหล่านี้ ย่อมมากับความท้าทายที่สำคัญ นั่นก็คือเมืองเสี่ยงเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วมได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วการช่วยเหลือมักทำได้ยากลำบากและล่าช้า เนื่องจากติดปัญหาในเรื่องของสภาพพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวยในการจัดหาพื้นที่อพยพ ต้องใช้กำลังคนหรือผู้นำท้องถิ่นลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการเช็กจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ การสำรวจครัวเรือนที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งกว่าจะได้ข้อมูลมากองรวมกัน เพื่อจัดสรรงบประมาณและวางแผนเยียวยาก็ต้องใช้เวลานานและล่าช้าเกินไป
อีกทั้งการที่เกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง จึงทำให้เราเสียโอกาสในการดึงดูดการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ตามไปด้วย เนื่องจากไม่สามารถเตรียมงบประมาณในการวางแผนรองรับอุทกภัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สามารถสร้างภาพลักษณ์เมืองที่ดูสะอาดและปลอดภัยได้เท่าที่ควร รวมทั้งยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคที่แข็งแรงรองรับการลงทุนได้เท่าที่ควร
2. ค้นหาต้นตอของความท้าทาย นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดของเทศบาลตำบลลำพญา
เมื่อพบปัญหา เทศบาลของเราไม่ได้มุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาปลายทางเท่านั้น แต่เราหา Pain Point สำคัญว่าแท้จริงแล้วความล่าช้าในการช่วยเหลือประชาชนเกิดขึ้นจากอะไร แล้วจะพัฒนาพื้นที่ให้รองรับการลงทุนใหม่ ๆ ได้อย่างไร เมื่อได้ระดมความคิดเห็นและประสบการณ์กันแล้ว จึงพบว่าปัญหาเหล่านี้เกิดมาจาก “ข้อมูล” ทั้งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล กระบวนการในการจัดหาและจัดเก็บข้อมูล การอัปเดตข้อมูล รูปแบบในการจัดเก็บข้อมูล การเรียกดูและการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการติดต่อประสานงานในการหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยเมื่อเจอ Pain Point แล้ว ก็นำไปสู่การหาโซลูชัน นั่นก็คือการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบันที่มีความสามารถสูง คุ้มค่า และตอบโจทย์เป้าหมายของเทศบาลเข้ามาช่วย
3. ระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง โซลูชันแก้ปัญหาอุทกภัย
หลังจากตัดสินใจกันได้ว่าจะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องฐานข้อมูล จึงได้มาเจอกับระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (CDDP) จาก Bedrock ซึ่งเป็นแผนที่สามมิติหรือ Smart Map ที่นำ AI และ Machine Learning มาจัดการและเชื่อมโยง Big Data หลายชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ภูมิประเทศ ประวัติการเกิดน้ำท่วม การพยากรณ์อากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม ทำให้สามารถวิเคราะห์ สรุปสถานการณ์ อัปเดตข้อมูล และคาดการณ์ภัยพิบัติได้อย่างแม่นยำ
ซึ่งเทศบาลของเรานำมาใช้ในการบริหารจัดการอุทกภัยทั้งก่อนเกิด ระหว่างเกิด และหลังเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เมื่อเกิดน้ำท่วม จะเห็นทันทีว่าพื้นที่ใดบ้างในเขตปกครองของเราที่ได้รับผลกระทบ พื้นที่ปลอดภัยอยู่ที่ใด ถ้าจะตั้งศูนย์อพยพควรตั้งจุดใด ที่สำคัญทราบทันทีว่าในแต่ละครัวเรือนมีสมาชิกกี่คน มีใครบ้าง ทำให้เทศบาลของเราสามารถเรียกดูข้อมูลได้ง่าย เห็นข้อมูลเรียลไทม์ นำไปสู่การแจกจ่ายหรือเข้าช่วยเหลือในรูปแบบการเรียงลำดับตามความเร่งด่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบสามารถนำข้อมูลมาทับซ้อนกันได้หลายชั้นหลายปี ทำให้ระบบสามารถคาดการณ์อุทกภัยที่จะเกิดได้แม่นยำ ทำให้เทศบาลวางแผนป้องกัน รับมือ รวมไปถึงการวางงบประมาณพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายของเมืองและการลงทุนได้อย่างมีศักยภาพ
4. ผลลัพธ์หลังการใช้งานระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (CDDP)
ในช่วงแรกหลังจากที่เทศบาลตำบลลำพญาและ Bedrock ร่วมกันพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (CDDP) ของเทศบาลตำบลลำพญาเรียบร้อย ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่เทศบาลเริ่มเรียนรู้ระบบใหม่ที่ไม่คุ้นเคยจากผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำตลอด แต่เพียงไม่นานก็สามารถใช้ได้ เนื่องจากระบบใช้งานง่ายและไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด
โดยปัจจุบันเทศบาลใช้งานระบบจัดการภัยพิบัติมาสักระยะหนึ่งพบว่า ระบบนี้มีความจำเป็นและตอบโจทย์การบริหารจัดการเมืองด้วยข้อมูลของเทศบาลอย่างมาก ทั้งในเรื่องการเรียกใช้ข้อมูลที่ง่ายขึ้นและลดเวลาการหาข้อมูลได้มาก จากที่ต้องค้นหาข้อมูลแผนที่บนกระดาษก็ย้ายมาคลิกดูบนออนไลน์ที่ไหนเมื่อไรก็ได้ อีกทั้งข้อมูลที่ได้ยังเข้าใจง่าย เพราะเป็นข้อมูลในรูปแบบของแผนที่สามมิติหรือ Smart Map ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที ทำให้สามารถวางแผนการรับมือ การเยียวยา หรือการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบได้เร็วขึ้นอย่างชัดเจน ที่สำคัญยังปรับปรุง ปรับแก้ อัปเดต และตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่รอจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ยิ่งกว่านั้นระบบนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลได้ ซึ่งเมื่อเรานำข้อมูลในอดีตมาเทียบกับปัจจุบันก็จะสามารถคาดการณ์พื้นที่ ความรุนแรง ทิศทาง และผลกระทบจากอุทกภัยได้อย่างแม่นยำ
นอกจากตอบโจทย์เรื่องการบริหารจัดการอุทกภัยแล้ว ระบบนี้ยังนำช่วยให้เทศบาลวางแผนขยายเมืองและรองรับการลงทุนทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ด้วย โดยนำมาช่วยในการจัดทำผังเมือง การออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นต้น
5. เชิญชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย แก้ปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ
การนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการเมืองไม่ใช่เรื่องใหม่ ในสมัยก่อนหรือในปัจจุบันเราก็ต้องอาศัยข้อมูลกับประสบการณ์มาประกอบในการบริหารจัดการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งหลายท่านคงจะทราบดีว่าการนำข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายที่มา อีกทั้งยังที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปีมาบริหารจัดการ เพื่อที่จะวางแผนหรือตัดสินใจเป็นเรื่องยากเพียงใด เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีมีความสามารถมากขึ้น มีราคาที่ถูกลง การนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการข้อมูลจึงไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องต้องกังวลผลลัพธ์อีกต่อไป จึงอยากแนะนำให้ทุกท่านลองเริ่มลงมือนำเทคโนโลยีมาช่วยในส่วนนี้ เพราะไม่เพียงเราทำงานง่ายขึ้น แต่ประชาชนในพื้นที่ก็จะได้ประโยชน์มากที่สุดด้วยเช่นกัน
Bedrock ขอขอบคุณ “คุณขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย นายกเทศมนตรีตำบลลำพญา จังหวัดนครปฐม” ที่มารวมแบ่งปันความท้าทายของเทศบาลตำบลลำพญาที่มีพื้นที่ริมแม่น้ำ เสี่ยงเกิดอุทกภัย พร้อมแนะแนวทางในการแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ด้วยการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะอย่างระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (CDDP) จนสามารถวางแผนการรับมือกับภัยพิบัติแบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนเกิด ระหว่างเกิด และหลังเกิดภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง จาก Bedrock เป็นระบบบริการจัดการภัยพิบัติแบบครบวงจร ตั้งแต่การวางแผนรับมือ การช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงการถอดบทเรียนจากน้ำท่วม โดยมีการนำ AI และ Machine Learning มารวบรวม จัดการ และเชื่อมโยง Big Data หลายชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ภูมิประเทศ ประวัติการเกิดน้ำท่วม การพยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลประชากร ข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลจากหน่วยงานทั่วประเทศที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถวิเคราะห์ สรุปสถานการณ์ ระบุข้อมูลและพิกัดของประชากร ระบุพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พื้นที่อพยพ พื้นที่เฝ้าระวัง พื้นที่เตือนภัย และพื้นที่ปลอดภัย รวมถึงคาดการณ์ภัยพิบัติได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ท้องถิ่นบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดสนใจระบบจัดการภัยพิบัติ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองจาก Bedrock สามารถติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook