แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง เทคโนโลยีช่วยเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
เข้าสู่ฤดูฝนเมื่อไร โรคติดต่อหนึ่งที่ตามมาด้วยก็คือ “โรคไข้เลือดออก” ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วยจำนวนไม่น้อย อีกทั้งยังส่งผลกระทบในเรื่องของสถานที่รองรับผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งหน้าที่ในการเฝ้าระวังดูแล ควบคุม และป้องกัน ไม่ใช่เพียงแค่ตัวประชาชนเองเท่านั้น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ถือว่าบทบาทสำคัญที่จะต้องดูแลในส่วนนี้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ของโรคประกอบกับนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงไป การนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนงาน จึงทำให้ท้องถิ่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเหนื่อยน้อยลง
ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทำงานในด้านการบริหารจัดการโรคไข้เลือดออกได้ง่ายขึ้น เรามาทำความรู้จักกับโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นกันก่อน
ไข้เลือดออกคืออะไร
ไข้เลือดออก (Dengue fever) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ที่มีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ซึ่งเมื่อยุงลายไปกัดและดูดเลือดคนที่เป็นไข้เลือดออก เชื้อก็จะไปอยู่ที่ยุงลาย แล้วฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนั้นไปกัดคนอื่นต่อก็จะทำให้เขาติดโรคไข้เลือดออกไปด้วยนั่นเอง สำหรับโรคนี้มักจะพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี
อาการของโรคไข้เลือดออก
ปกติแล้วอาการของโรคไข้เลือดออกจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ได้รับเชื้อภายใน 3 - 15 วัน บางคนอาจไม่มีอาการ ขณะที่บางคนจะมีอาการตั้งแต่ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อหรือกระดูก มีผื่นขึ้นคล้ายโรคหัด และอาจมีภาวะเลือดออก พร้อมทั้งอาการเฉพาะของโรค ไม่ว่าจะเป็น
- มีไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2-7 วัน แต่ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร - มีจ้ำเลือด มีผื่นแดงขึ้นที่ผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน
- อาจมีอาการปวดท้อง (บริเวณชายโครงขวา) กดเจ็บบริเวณลิ้นปี่
- บางรายเกิดอาการรุนแรง ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกหรือภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงรวดเร็ว ความดันโลหิตต่ำ วัดชีพจรไม่ได้
วิธีการวินิจฉัยไข้เลือดออก
หากพบผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยแพทย์มักจะมีการวินิจฉัยไข้เลือดออก ด้วยการเริ่มจากการซักถามประวัติว่ามีการสัมผัสกับยุงลายหรือไม่ เดินทางไปยังพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออกหรือเปล่า พร้อมตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อประเมินอาการ และแยกโรคไข้เลือดออกจากโรคที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ไข้หวัด ไข้ซิก้า ไข้ชิคุนกุนยา ไข้มาลาเรีย เป็นต้น รวมทั้งอาจมีวิธีอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น การตรวจจุดเลือดออกใต้ผิวหนังหรือการตรวจทูนิเก้ (Tourniquet test) การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) การตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด การตรวจภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อเชื้อไข้เลือดออก (Dengue NS1 Antigen; Dengue IgM, Dengue IgG) และการตรวจหาสารพันธุกรรมระดับโมเลกุล (Polymerase chain reaction: PCR)
การรักษาโรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออก แต่จะเป็นการรักษาตามอาการและความรุนแรง ซึ่งหากอาการไม่รุนแรงก็อาจจะหายได้เองภายใน 2-7 วัน แต่หากอาการรุนแรงก็มีโอกาสที่จะอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากรู้เร็ว ก็จะรักษาเร็ว และลดความรุนแรงของโรคได้นั่นเองครับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุม และดูแลโรคไข้เลือดออก
คงจะรู้กันแล้วว่าโรคไข้เลือดออกคืออะไร และมีอาการรุนแรงแค่ไหน และต้องรักษาอย่างไร ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา รวมถึงดูแลหลังการรักษา จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในระดับพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญอย่างมาก โดยปกติแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในระดับพื้นที่มักจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจและป้องกันในช่วงฤดูแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ รวมถึงแจกทรายกำจัดลูกน้ำ พ่นหมอกควันเพื่อป้องกันและควบคุม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยและควบคุมพื้นที่แพร่ระบาดของโรคด้วย ซึ่งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องในทุกปี ประกอบกับสถานการณ์ของโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป การปฏิบัติงานในแนวคิดแบบเดิม ๆ อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิมอีกต่อไป ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่ที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกจากเชิงรับไปสู่เชิงรุก ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน อย่างแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform)
แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง เครื่องมือช่วยเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) เป็นระบบกลางด้านข้อมูลที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ Machine Learning มาบูรณาการในการดึงฐานข้อมูลจาก Bedrock องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศไทย มารวบรวม จัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและบริการของเมืองในด้านต่าง ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เห็นข้อมูลแบบปัจจุบัน (Real-Time) โดยไม่ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค จึงสามารถนำมาสนับสนุนการบริหารจัดการท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพอย่างด้านสุขภาพและสาธารณสุขในการบริหารจัดการโรคติดต่ออย่างไข้เลือดออกได้ครบทุกความต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยดูแลด้านสวัสดิการสังคมในการจ่ายเบี้ยผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองจะช่วยบริหารจัดการโรคไข้เลือดออกได้ต้องแต่การป้องกัน การเฝ้าระวัง การควบคุมโรคในช่วงระบาด การควบคุมหลังการระบาด ตลอดจนการค้นหาและดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
1. การป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนช่วงระบาด
ในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน คือช่วงเดือนสำคัญที่ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำการตัดวงจรการแพร่เชื้อโรคไข้เลือดออกหรือเชื้อไวรัสเดงกี ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ต้นตอการระบาด การสืบค้นแหล่งรังโรค การกำจัดแหล่งแพร่โรค เฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยไข้เลือดออก รวมถึงแนะนำวิธีการป้องกันยุงลายให้กับประชาชน ซึ่งแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง หรือ CDDP จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยท้องถิ่นในการเป็นคลังข้อมูลคุณภาพ ที่นอกจากจะจัดระบบและจัดเรียงฐานข้อมูลของท้องถิ่นและที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันแล้ว ยังมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ Machine Learning มาช่วยในการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มที่แม่นยำได้ผ่านการแสดงผลในรูปแบบแผนภาพจำลองที่เข้าใจง่ายและเห็นข้อมูลฉบับอัปเดตและเป็นปัจจุบัน ทั้งพื้นที่การแพร่ระบาด จำนวนผู้ป่วย ความเสี่ยงต่าง ๆ และที่พิเศษยิ่งกว่าก็คือหากมีฐานข้อมูลหลายปีระบบสามารถเปรียบเทียบข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ดุลยพินิจ รวมถึงการตัดสินใจในการวางแผนแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
2. การควบคุมโรคช่วงระบาด
ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม หรือพูดง่าย ๆ ก็คือช่วงหน้าฝนที่เสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในระดับพื้นที่จะต้องเร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ แจกทรายกำจัดลูกน้ำ พ่นหมอกควัน ที่สำคัญต้องค้นหาผู้ป่วยให้ทันเวลา เพื่อรักษาให้รวดเร็วที่สุด ซึ่งจะลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก รวมถึงควบคุมพื้นที่ของโรคไข้เลือดออก โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง หรือ CDDP จะเข้ามาช่วยสนับสนุนงานในส่วนนี้ให้สมบูรณ์แบบ ลดภาระงาน และช่วยค้นหาและดูแลผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก CDDP จะช่วยรวบรวมและจัดระบบข้อมูลของคนป่วยไข้เลือดออกและผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือผ่านการแสดงผลที่เข้าใจง่าย พร้อมช่วยจัดลำดับตามความสำคัญของผู้ป่วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่บริหารจัดการ ค้นหาผู้ป่วย จุดลำดับความสำคัญของผู้ป่วย คาดการณ์แนวโน้ม และเข้าควบคุมพื้นที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยไม่ต้องระดมกำลังลงพื้นที่หรือต้องนัดมาประชุมเจอหน้ากัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ที่ไหนเมื่อไรก็ได้ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและตัดสินใจได้เร็วขึ้น
3. การควบคุมหลังการระบาดของโรค
ในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม เป็นช่วงที่เลยการระบาดของโรคไข้เลือดไปแล้ว แต่ผลกระทบจากการระบาดยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในระดับพื้นที่จะต้องมีการควบคุมและระงับการระบาดของโรคให้น้อยที่สุด พร้อมเฝ้าระวังโรค ค้นหาผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วย รวมถึงวางแผนรับมือในปีต่อไป ด้วยความที่แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองของ Bedrock ในการเป็นศูนย์บัญชากลางด้านข้อมูลของท้องถิ่น ทำให้ระบบสามารถแสดงข้อมูลได้แบบองค์รวมและคาดการณ์แนวโน้มพื้นที่และผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ และนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนนโยบายต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้ดุลยพินิจอย่างเดียว
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด สนใจนำแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) มาใช้เฝ้าระวัง ควบคุม และรับมือกับโรคไข้เลือดออกที่ระบาดในทุกปี สามารถติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook
ขอบคุณข้อมูล:
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/dengue-hemorrhagic-fever