3 แพลตฟอร์มอัจฉริยะ เครื่องมือสุดเจ๋งช่วยให้ท้องถิ่นรับมือฤดูฝนได้อย่างสุดปัง
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และบริหารจัดการเมืองในเขตปกครองของตนเอง จึงต้องเตรียมความพร้อม ระมัดระวัง และรับมือต่อฤดูฝนที่กำลังเข้ามาในแต่ละปี เพราะมีเรื่องที่ต้องระวังหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่ออย่างโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เปียกลื่นและฝนตกหนัก รวมทั้งภัยจากไฟดูด ไฟช็อต อันตรายจากสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ ที่สำคัญก็คือน้ำท่วม พายุลมแรง ฟ้าผ่า ภัยเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน วันนี้ Bedrock ได้รวบรวมเครื่องมือที่จะช่วยให้ท้องถิ่นเตรียมรับมือหน้าฝนในแต่ละปีได้อย่างยั่งยืนมาแนะนำ
1. แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง มอนิเตอร์ภัยพิบัติ คาดการณ์พิกัดที่จะเกิด
น้ำท่วม ภัยธรรมชาติที่มักมาตอนฤดูฝน ดังนั้นการวางแผนรับมือ การคาดการณ์จุดที่จะท่วม การเตรียมแผนอพยพ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ จึงต้องอาศัยประสบการณ์ของท้องถิ่นและข้อมูลที่มีคุณภาพ แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) จึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์บัญชาการด้านข้อมูลที่จะช่วยท้องถิ่นได้ เพราะสามารถรวบรวม จัดเก็บ และจัดการ Big Data ที่มีคุณภาพหลากหลายชั้นข้อมูล ทั้งข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Bedrock หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วประเทศไทย รวมถึงข้อมูลจาก CCTV ภาพดาวเทียม โดรน การสำรวจแม่น้ำและคลอง ระบบโทรมาตรอัตโนมัติ พร้อมใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) มาเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถจัดการข้อมูล ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงคาดการณ์แนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและการบริการของเมือง โดยจะแสดงผลผ่าน Dashboard ในรูปแบบแผนที่สองมิติและสามมิติที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันที เห็นข้อมูลอัปเดต และเห็นข้อมูลแบบเดียวกัน จึงทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองสามารถนำมาจัดการด้านภัยพิบัติของท้องถิ่นได้ทั้งในการวางแผนรับมือ การช่วยเหลือ และการเยียวยา ดังนี้
- การวางแผนรับมือ แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง สามารถแสดงข้อมูลในเรื่องพื้นที่อพยพ พื้นที่เฝ้าระวัง พื้นที่เตือนภัย และพื้นที่ปลอดภัย เป็นต้น เพื่อให้สามารถวางแผนและจัดเตรียมพื้นที่เมื่อเกิดน้ำท่วมได้อย่างเหมาะสม ลดเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและอพยพประชาชนในพื้นที่
- การช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญ แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง สามารถแสดงข้อมูลจำนวนและพิกัดของผู้ที่มีความเสี่ยงและควรได้รับความช่วยเหลือตามลำดับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว ลดการใช้ดุลยพินิจในการให้ความช่วยเหลือ ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง สามารถแสดงข้อมูลเรื่องแนวทางการเยียวยาและผลกระทบที่อาจจะตามมาหลังจากเกิดน้ำท่วม เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้วางแผนล่วงหน้าได้
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) ยังช่วยในการมอนิเตอร์กล้องโทรทัศน์วงจรปิดหรือ CCTV ได้ด้วย โดยเมื่อนำ CCTV ของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น CCTV หรือ AI-CCTV มาเชื่อมต่อกับ CDDP ที่มีการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) มาใช้ ก็เท่ากับได้สร้างศูนย์บัญชาการข้อมูลของท้องถิ่นที่สามารถมอนิเตอร์สถานการณ์น้ำท่วมแบบเรียลไทม์ ยิ่งกว่านั้นแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองยังมีการพัฒนาระบบแจ้งเตือนสำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถดูแลท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วด้วย
2. ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะ เช็กความพร้อมของการใช้ถนน ทางเท้า และไฟส่องสว่าง
อุปสรรคสำคัญในการซ่อมแซมถนน ทางเท้า ไฟส่องสว่างในช่วงฤดูฝน คือการเดินทางที่ยากลำบาก การเข้าถึงพิกัดที่ชำรุด การหาแนวทางการซ่อมแซมที่ตรงจุด รวมถึงการสื่อสารระหว่างส่วนกลางกับหน้างาน ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะ (Smart Asset Management) จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยจัดการและวางแผนวงรอบและการวางแผนรอบการบำรุงรักษาของสินทรัพย์ที่อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ไม่ว่าจะเป็น ถนน, ไฟส่องสว่าง, ทางเท้า เป็นต้น ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Machine Learning และปัญญาประดิษฐ์ (Al) ในการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล ตรวจจับและจำแนกทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีระบบรายงานปัญหาและรับบริการสำหรับประชาชนเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถรับทราบและเข้าดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จากความสามารถที่เล่ามา คงจะเห็นกันแล้วว่าช่วยตอบโจทย์การดูแลโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงฤดูฝนที่ยากต่อการลงพื้นที่ และอาจเกิดอุบัติภัยได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ถนนทรุด ถนนขาด ทางเท้าทรุด ท่อแตก เสาไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น เนื่องจากสามารถตรวจจับความผิดปกติ การแจ้งเตือนเมื่อถึงรอบซ่อมบำรุง การรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินที่ครบถ้วน
- ตรวจจับความผิดปกติและความสมบูรณ์พร้อมใช้งานของทรัพย์สิน ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะสามารถตรวจจับวัตถุ จำแนกทรัพย์สิน และวิเคราะห์ความผิดปกติของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ทางเท้าถนน เสาไฟ ไฟส่องสว่าง เป็นต้น ทำให้เจ้าหน้าที่เห็นความผิดปกติเบื้องต้นผ่านจอแสดงผลที่เข้าใจง่าย ก่อนที่จะลงสำรวจพื้นที่จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และซ่อมแซมได้อย่างตรงจุด
- ศูนย์รวมข้อมูลรายละเอียดทะเบียนทรัพย์สินและข้อมูลทรัพย์สินของท้องถิ่น เมื่อมีการสำรวจหรือมีผู้แจ้งสถานะต่าง ๆ ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะสามารถบันทึกรายละเอียดทะเบียนทรัพย์สินและข้อมูลทรัพย์สินได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ได้ฐานข้อมูลทรัพย์สินที่อัปเดต ครบถ้วน จึงช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ได้ข้อมูลปัจจุบัน และทราบจุดที่แน่นอนในการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน
- แจ้งเตือนเมื่อถึงรอบซ่อมบำรุง ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะมีการพัฒนาระบบแจ้งเตือน เมื่อพบความผิดปกติและถึงรอบซ่อมบำรุง เพื่อลดภาระการมอนิเตอร์ตลอดเวลา และจะได้ซ่อมแซมให้สมบูรณ์พร้อมใช้งานก่อนเข้าถึงช่วงฤดูฝนที่เสี่ยงเกิดเหตุไม่คาดฝันได้
- เชื่อมต่อกับ Bellme ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อกับระบบรับแจ้งเหตุและจัดการปัญหาผ่านระบบออนไลน์ หรือ Bellme จาก Bedrock ได้ นอกจากตัวระบบบริหารจัดการทรัพย์สินอัจฉริยะจะตรวจสอบทรัพย์สินของท้องถิ่นด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชน รับเรื่องร้องเรียนหรือรับแจ้งเหตุจากประชาชนได้ด้วย
3. Bellme แจ้งทุกเรื่องด่วน ท้องถิ่นแก้ไขฉับไว
ฤดูฝนที่เมื่อไรการแจ้งเหตุด่วน เหตุร้ายย่อมลำบากตามไปด้วย ทั้งการเดินทางไปแจ้งที่สำนักงาน การโทรศัพท์สื่อสารที่อาจไม่ราบรื่น การติดต่อที่ต้องอาศัยเวลาทำการ ที่สำคัญการชี้พิกัดจุดเกิดเหตุที่อาจไม่แม่นยำเพียงพอ Bellme จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างท้องถิ่นและประชาชน โดยเป็นระบบแจ้งเหตุและจัดการปัญหาออนไลน์ เพื่อบริการประชาชนแบบรวมศูนย์ (Citizen One Stop Service) ที่สามารถเชื่อมต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่ได้ง่ายผ่านเว็บไซต์ และ LineOA มาพร้อมฟังก์ชันสำคัญที่ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็น
- ประชาชนแจ้งเหตุและร้องเรียนผ่านออนไลน์ทุกที่ทุกเวลา
- ประชาชนติดตามสถานะของการแก้ปัญหาได้ตลอดเวลาผ่านออนไลน์ทุกที่ทุกเวลา
- มีระบบอัตโนมัติรับเรื่องร้องเรียนและตรวจสอบสถานะให้กับประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
- มีระบบส่งต่องานภายในหน่วยงาน
- เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบตำแหน่งที่เกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ ทำให้แก้ไขได้ฉับไวและตรงจุด
อันตรายที่มากับฤดูฝนไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้น การนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือให้การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคดิจิทัลจึงช่วยให้การป้องกัน เฝ้าระวัง รับมือ และแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท้องถิ่นใดที่สนใจ 3 แพลตฟอร์มที่เล่ามาสามารถติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook