โดรน เทคโนโลยีการสำรวจสู่การสร้าง Location Intelligence
หลายคนอาจคุ้นชินกับการใช้โดรนบินถ่ายภาพมุมสูงหรือใช้ทางการเกษตร แต่อาจคิดไม่ถึงว่าโดรนจะเป็นเทคโนโลยีการสำรวจที่จะช่วยสร้าง Location Intelligence ในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ มาดูกันว่า โดรน เทคโนโลยีการสำรวจที่ผสาน AI และ Machine Learning จะช่วยสร้าง Location Intelligence ที่จะนำไปสู่การยกระดับท้องถิ่นดิจิทัลได้อย่างไรบ้าง
โดรนช่วยสร้าง Location Intelligence ได้อย่างไร
โดรน คือ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV, Unmanned Aerial Systems: UAS) ที่ผสาน AI และ Machine Learning มักนำมาใช้ในการสำรวจ ตรวจจับ ขนส่ง โจมตี ค้นหา และให้การช่วยเหลือในพื้นที่ที่มนุษย์เข้าถึงได้ยาก เนื่องจากโดรนไม่ได้มีความสามารถแค่เพียงบันทึกภาพจากมุมสูงเท่านั้น แต่ยังมีความสามารถ สำรวจและสร้างแผนที่ภูมิศาสตร์ที่มีความแม่นยำในระดับสูง สามารถตรวจจับความผิดปกติ รูปร่าง วัตถุ และสภาพภูมิอากาศ จึงทำให้โดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยียอดนิยมที่นำมาใช้ในการสร้าง Location Intelligence หรือความสามารถในการรับข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลเชิงพื้นที่
ประโยชน์ของโดรนในการยกระดับท้องถิ่นดิจิทัล
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าโดรนคือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการสร้าง Location Intelligence ที่ตอบโจทย์ในการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบองค์รวม ช่วยยกระดับท้องถิ่นดิจิทัลในการวิเคราะห์ คาดการณ์ และช่วยตัดสินใจการวางแผนต่าง ๆ
1. สำรวจและวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ของพื้นที่
โดรนสามารถวัดและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขนาด ความสูง รูปร่าง และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้ ทำให้ทราบถึงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ง่ายต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งยังนำไปประยุกต์ใช้ในการดูว่าการก่อสร้างอาคารว่าเป็นไปตามที่ขออนุญาตหรือกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่
2. ตรวจสภาพถนนและทางเท้า เพื่อวางแผนการซ่อมบำรุง
โดรนสามารถสำรวจและบันทึกสภาพถนนและทางเท้าได้อย่างละเอียดและแม่นยำ พร้อมแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติ ดังนั้นจึงทำให้เห็นรอยร้าว รอยแตก หรือสิ่งกีดขวาง จึงทำให้ง่ายต่อการซ่อมแซม และวางแผนรอบการซ่อมบำรุงถนนและทางเท้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบ ไม่เพียงเท่านั้นยังบันทึกพื้นที่รอบข้างถนนได้ด้วย ทำให้สามารถบริหารจัดการขนาดถนน ทางเท้า หรือประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าถือเป็นส่วนหนึ่งในการนำโดรนมาออกแบบ Location Intelligence ในการวิเคราะห์และวางแผนงบประมาณการซ่อมบำรุง รวมถึงแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างดี
3. ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่
โดรนสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ได้ ทั้งรูปร่าง ประโยชน์ใช้สอย ระดับความสูงของพื้นผิว ระยะทาง ความลาดชัน การทรุดตัว การชำรุด เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การจัดเก็บภาษีท้องถิ่น การบริหารจัดการ และการซ่อมบำรุงในท้องถิ่น
4. ประหยัดเวลา งบประมาณ และกำลังคน
การสำรวจพื้นที่ เพื่ออัปเดตข้อมูลหรือจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้เวลา งบประมาณ และกำลังคน โดรนคือตัวช่วยสำคัญ เพราะสามารถสำรวจพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ละเอียด และแม่นยำสูงมาก อีกทั้งยังสามารถเข้าไปยังพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงและพื้นที่เสี่ยงอันตราย จึงทำให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียด แม่นยำ ส่งผลให้การวางแผน การวิเคราะห์ และการสำรวจมีประสิทธิภาพสูง
5. บันทึกข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลแบบอัตโนมัติ
โดรนในปัจจุบันสามารถทำงานขับเคลื่อนตัวเองแบบอัตโนมัติ เมื่อบันทึกข้อมูลทางภูมิศาสตร์แล้วจะส่งข้อมูลกลับไปยังระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์อัตโนมัติ ทำให้สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่นโดรนของ Skyller ของบริษัท AI and Robotics Venture (ARV) Venture Builder บริษัทลูกของ ปตท. สผ. (PTTEP) ที่นำโดรนมาผสานการทำงานกับ AI และ Machine Learning จนพัฒนาเป็น HighSight Solution หรือโดรนในกล่อง (drone in a box) สามารถขับเคลื่อนตัวเองด้วยระบบอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องมีนักบินควบคุม สามารถสั่งการควบคุม ตั้งโปรแกรมทำงาน และดูผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบ AI ผ่านแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นได้ ส่งผลให้สร้าง Location Intelligence ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
โดรน คืออีกเทคโนโลยีในการสร้าง Location Intelligence ที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การวางแผนและการบริหารจัดการท้องถิ่น แต่ใช่ว่ามีเพียงแค่โดรนจะสามารถยกระดับท้องถิ่นดิจิทัลได้ทันที แต่จะต้องมีแพลตฟอร์มการบริหารจัดการเมืองที่ตอบโจทย์ในสิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการด้วย ท้องถิ่นใดที่ต้องการแพลตฟอร์มการบริหารจัดการเมืองที่จะแก้ Pain Point ท้องถิ่นของคุณได้สามารถปรึกษาและติดต่อได้ที่ e-mail: [email protected] หรือ Line หรือ Facebook ได้เลย