พัฒนาการจัดทำงบประมาณท้องถิ่น ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
การวางแผนงบประมาณท้องถิ่นต้องอาศัยการประมาณการ ข้อมูล และความรอบคอบสูง เพื่อให้ระหว่างปีงบประมาณ ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเมืองได้ตามที่ตั้งเป้าหมาย แต่จะทำอย่างไรให้การวางแผนงบสำเร็จตามเป้าหมาย Bedrock ขอแนะนำให้รู้จักกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
การจัดทำงบประมาณในแต่ละรอบปีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องประมาณการด้านรายรับรายจ่ายให้เพียงพอสำหรับการบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะตามที่ประชาชนต้องการภายในรอบปีงบประมาณ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะประเมินจากดุลงบประมาณ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง รวมถึงเงินสะสม ทำให้หลายครั้งอาจเกิดความผิดพลาดจากข้อมูลที่ไม่สะท้อนความจริง วิเคราะห์หรือคาดการณ์เหตุการณ์ได้ไม่ตรงจุด ทำให้งบประมาณไม่เพียงพอ มาลดปัญหาและเสริมศักยภาพในการวางแผนงบประมาณในแต่ละรอบปีงบด้วยการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่กัน
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่คืออะไร
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ คือการนำเอาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้มาผ่านกระบวนการจัดกลุ่ม แยกย่อย เรียบเรียง หาความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลในแต่ละชุด เพื่อให้ได้คำตอบหรือเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่ต้องการ ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ได้จะต้องมีข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีคุณภาพก่อน
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ก็คือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูลต่าง ๆ บนโลก โดยจะแสดงสัญลักษณ์เป็นจุด (Point) จะใช้แสดงตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ และเป็นเส้น (Line) จะใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเส้น เช่น ถนน, แม่น้ำ รวมถึงเป็นพื้นที่ (Area or Polygon) ใช้แสดงลักษณะพื้นที่ เช่น ขอบเขตการปกครอง พื้นที่อาคาร
สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่นั้นมีหลากหลายเทคโนโลยีและวิธีการ เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) และโดรน เป็นต้น
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำงบประมาณท้องถิ่นอย่างไร
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะด้านภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังนำมาใช้เกี่ยวกับการวางแผนงบประมาณในแต่ละรอบปีงบได้ด้วย
1. วิเคราะห์และพยากรณ์สถานการณ์ในท้องถิ่น
การใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ จำพวกชุดข้อมูลเกี่ยวกับประชากร สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่น มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่จะทำให้สามารถทราบสถานการณ์ปัจจุบันของท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็สามารถคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของพื้นที่ได้ หากวิเคราะห์และพยากรณ์ได้แล้ว แน่นอนว่าการวางแผนงบประมาณและการดำเนินงานก็จะรัดกุม ไม่เกิดภาวะงบประมาณไม่เพียงพอ หรืองบเหลือเกินความจำเป็น อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและท้องถิ่น
2. ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างมีหลักการ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีหลักการและมีข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเห็นภาพรวมท้องถิ่นในมุมที่กว้างขึ้น รอบด้านมากขึ้น อีกทั้งข้อมูลยังเชื่อมโยงกันมากขึ้น ส่งผลให้วางแผนงบประมาณที่จะใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ติดตามและประเมินผลการใช้งบประมาณง่าย
ทุกการใช้งบประมาณท้องถิ่นจะต้องมีการติดตามและประเมินผลว่าสิ่งที่ลงทุนไปมีผลต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนอย่างไรบ้าง ดังนั้นหากเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ๆ ก็จะสามารถติดตามและประเมินผลการใช้งบประมาณจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย
4. งบประมาณสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่จะทำให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถออกแบบนโยบายหรือโครงการที่ตอบความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่นและประชาชน และยังทราบว่ามีรายจ่ายส่วนเกินตรงไหน มีส่วนใดที่ยังขาดแคลนหรือส่วนใดที่จำเป็นต้องใช้งบสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งยังรู้ว่าควรมีเงินสะสมหรือเงินสำรองไว้ใช้ในส่วนใด เท่าไรบ้าง เป็นต้น
การนำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่มาใช้ในการวางแผนงบประมาณท้องถิ่นในแต่ละรอบปีงบ เป็นอีกกลไกสำคัญที่จะทำให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างตรงจุด และรับมือกับเหตุไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างสบาย ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ต้องการนำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่มาใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี ได้ที่ Line หรือ Facebook