วางรากฐานข้อมูลสุขภาวะของไทยแบบบูรณาการ ตอบโจทย์ระดับนโยบายและสาธารณะ ด้วย City Health Check TH จาก สสส. และเบดร็อค อนาไลติกส์

การจัดการข้อมูลเป็นความท้าทายสำคัญของหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลที่กระจัดกระจาย การจัดเก็บแบบแยกส่วน (Silo) รูปแบบที่ไม่เป็นมาตรฐาน หรือขาดการอัปเดต ส่งผลให้ไม่สามารถบูรณาการ วิเคราะห์ หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
เบดร็อค อนาไลติกส์ กับบทบาทการขับเคลื่อนข้อมูลสุขภาวะร่วมกับ สสส.
เบดร็อค อนาไลติกส์ ในฐานะผู้นำที่ได้รับการยอมรับในด้านความเชี่ยวชาญในการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีอัจฉริยะ และ Location Intelligence ได้ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนา Big Data Platform ข้อมูลกิจกรรมทางกาย “City Health Check TH” ภายใต้โครงการพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกายโดยการใช้แพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อวางรากฐานการจัดการข้อมูลสุขภาวะแบบบูรณาการ พร้อมต่อยอดสู่การใช้งานในระดับนโยบายและสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะหลักด้วยกัน
ระยะที่ 1: ทำการรวบรวมและจัดการข้อมูลกิจกรรมทางกายจากภาคีเครือข่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 36 ชุดข้อมูล และพัฒนาเป็น Big Data Platform ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพได้หลากหลาย เช่น จำนวนประชากร กิจกรรมทางกาย ดัชนีมวลกาย (BMI) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์และใช้งานได้จริง
ระยะที่ 2: ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการขยายแพลตฟอร์มสู่ระดับประเทศรวมมากถึง 93 ชุดข้อมูล โดยเน้นการยกระดับระบบข้อมูลของ สสส. ให้กลายเป็น Digital Governance พร้อมจัดทำ Health City Index เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำกับ ติดตาม และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ โดยเปิดตัวแพลตฟอร์ม City Health Check TH อย่างเป็นทางการในงาน “PA Data-Driven Health and Wellbeing” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา
โดยในทั้งสองระยะ เบดร็อค อนาไลติกส์ มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง Big Data Platform ที่สามารถจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลจากหลายแหล่งและหลายรูปแบบที่กระจัดกระจายอยู่เดิม ให้กลายเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ เชื่อมโยงกันได้ ลดความซ้ำซ้อน พร้อมต่อการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการคาดการณ์ที่แม่นยำ บนพื้นฐานของข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน
ระยะกลางและระยะยาว: เบดร็อค อนาไลติกส์ ยังเตรียมต่อยอดการทำงานด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาวะ และสร้างศูนย์รวมข้อมูลด้านสุขภาวะ (Data Hub) เพื่อรองรับการใช้งานใน Use Case ที่หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น
City Health Check TH แพลตฟอร์มข้อมูลกิจกรรมทางกายแบบเปิด (Open Data Platform)
City Health Check TH หรือแพลตฟอร์มข้อมูลกิจกรรมทางกาย เป็นผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการทั้ง 2 ระยะตามที่กล่าวไป โดยเป็นฐานข้อมูลกลางขนาดใหญ่ในรูปแบบ Open data เพื่อให้บุคคลทั่วไป หน่วยงานรัฐ และนักวิจัยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ในหลากหลายมิติ
แพลตฟอร์มนี้จัดทำในรูปแบบแดชบอร์ดเชิงพื้นที่ที่ใช้ในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยในระยะยาว แสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะอย่างครอบคลุม ทั้งพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ไปจนถึงการใช้งบประมาณส่งเสริมสุขภาพ โดยข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 หมวดหลัก ได้แก่
1. แดชบอร์ดข้อมูลด้านสุขภาพของประชากร (Active People): ข้อมูลกิจกรรมทางกาย เทียบตามช่วงวัย ในระยะ 10 ปี (2558 - 2566) และข้อมูลโรคไม่ติดต่อ (NCDs) รวมถึงข้อมูล BMI ของประชากร
2. แดชบอร์ดข้อมูลด้านสังคมและนโยบาย (Active Society): ข้อมูลการใช้งบประมาณรวมและโครงการส่งเสริมสุขภาพในระยะ 10 ปี (2558 - 2567)
3. แดชบอร์ดข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม (Active Environment): ข้อมูลพื้นที่สาธารณะของแต่ละจังหวัด
4. แผนที่สุขภาวะ: ระบบแผนที่แบบเลเยอร์ที่แสดงข้อมูลสุขภาพและปัจจัยแวดล้อม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกพื้นที่และชั้นข้อมูลได้ตามต้องการ เช่น ขอบเขตสุขภาพ, การออกแบบชุมชนเมือง, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ความถี่ของการมีกิจกรรมทางกาย, พื้นที่เดินได้, คะแนนสิ่งแวดล้อม, ข้อมูลโครงการสุขภาพตำบล, สวนสาธารณะ, ขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
5. ข่าวสาร: ความเคลื่อนไหว กิจกรรม และประกาศเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย
6. ชุดข้อมูล (Data Catalog): ศูนย์รวมชุดข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เปิดให้เข้าถึงและดาวน์โหลดได้
ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม City Health Check TH
แพลตฟอร์มกิจกรรมทางกาย City Health Check TH ไม่เพียงเป็นฐานข้อมูลกลางขนาดใหญ่ด้านกิจกรรมทางกายที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์และวางแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น
1. ยกระดับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่
ยกระดับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยการใช้ Big data platform ร่วมกับปัจจัยในด้านคะแนนสุขภาวะ (Healthy City Index) และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นที่ แนวโน้ม และเชื่อมโยงข้อมูลจากหลากหลายมิติ ช่วยให้เกิดการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายของประชากรในประเทศที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี ของ สสส.
2. ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์และช่วยประกอบการตัดสินใจ
ข้อมูลบนแพลตฟอร์มช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนนโยบาย ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ และกำกับดูแลกิจกรรมทางกายของประชากรในประเทศได้อย่างมีทิศทางและประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านข้อมูลสุขภาพ
City Health Check TH ทำหน้าที่เป็นแหล่งฝึกอบรมและสนับสนุนบุคลากรในการเริ่มต้นใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนงานสุขภาพในพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก้าวต่อไปของโครงการพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกายโดยการใช้แพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ ไม่ได้หยุดเพียงการพัฒนา Big Data Platform ในรูปแบบข้อมูลเปิดอย่าง City Health Check TH เท่านั้น แต่ยังจะนำข้อมูลไปพัฒนาเพื่อประโยชน์ที่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น แผนกิจกรรมทางกายรายบุคคลด้วย AI และ Machine Learning, ระบบ Chatbot ให้คำแนะนำเฉพาะบุคคล รวมถึงระบบ Geolocation Intelligence สำหรับวิเคราะห์และวางผังเมืองในอนาคต
เบดร็อค อนาไลติกส์ ในฐานะผู้พัฒนา Big Data Platform ด้านข้อมูลสุขภาพร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เชื่อว่าการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data Platform นี้ ไม่เพียงตอบโจทย์ด้านเทคโนโลยี แต่ยังช่วยเชื่อมโยงข้อมูล นโยบาย และภาคส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ หากองค์กรของคุณต้องการจัดทำฐานข้อมูลกลางหรือระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยกระดับการทำงาน สามารถติดต่อได้ที่อีเมล: [email protected] หรือ LINE หรือ Facebook